Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

หน้าแรก ดูดไขมัน-ตัดหนังหน้าท้อง ร้อยไหมกระชับหน้า Laser หน้าขาวใส ฝ้า กระ อัตราค่าบริการ ติดต่อเรา
ผ่าตัดหนังตาบน-ล่าง
ทำตาสองชั้น หนังตาตก (ลงแผลที่เปลือกตา)
ผ่าตัดถุงใต้ตา
ผ่าตัดแก้หนังตาตก(ลงแผลใต้คิ้ว) และแก้ตาขี้เกียจ
ผ่าตัดเปิดหัวตา-หางตา
เสริมจมูก-คาง-หน้าผาก
เสริมจมูก-ตัดปีก
เสริมคาง
เสริมหน้าผาก
ตัดริมฝีปาก-ไขมันกระพุ้งแก้ม-ลักยิ้ม
ตัดริมฝีปากกระจับ
ตัดไขมัน กระพุ้งแก้ม Buccal Fat
ทำลักยิ้ม
ฉีดไขมันตนเองที่ใบหน้า
ฉีดไขมันที่ใบหน้า
ฉีดไขมันที่เต้านม-ก้น
ดึงหน้า-คอ-ยกคิ้ว-หน้าผาก
ผ่าตัดดึงหน้า แก้เหนียง ยกคิ้ว
Endotine ยกคิ้ว-หน้าผาก
Endotine ดึงหน้า-แก้ม-คอ
เสริมเต้านม
เสริมเต้านม
ยกเต้านมหย่อนยาน ลดเต้านมใหญ่ ลดขนาดหัวนม ปานนม
ดูดไขมัน-ตัดหนังหน้าท้อง
ดูดไขมันด้วยเครื่อง vaser
ตัดหนังหน้าท้อง
ตัดหนังแขนหย่อน
เลเบีย-รีแพร์
ตกแต่งเลเบีย แคมเล็ก
ผ่าตัดรีแพร์ กระชับช่องคลอด
เลเซอร์ Juliet กระชับช่องคลอด *New*
Laser เลเซอร์
Vbeam รอยแดงสิว แผลเป็นนูน หน้าใส ปานแดง
ริมฝีปากคล้ำ
Spectra gold ฝ้า กระ ปานดำ
กำจัดขนถาวร
เลเซอร์ Scarless รักษาหลุมสิว**
จี้ไฝ หูด ติ่งเนื้อ ด้วยเลเซอร์
ลบรอยสัก
รูขุมขน แผลเป็นรอยดำ
*เลเซอร์ Juliet กระชับช่องคลอด*ใหม่*
ร้อยไหม
ร้อยไหม ยกกระชับหน้า ยกคิ้ว
ร้อยไหมจมูก
HIFU ไฮฟู RF ลดน้ำหนัก
HIFU เหนียงหาย ไขมันกระชับ
RF กระชับใต้ตา ร่องแก้ม เซลลูไลท์
Mesofat
ฉีดเมโส ผิวขาว PRP
ฉีดวิตามินผิว
ฉีดเมโส หน้าใส ละลายไขมัน
ฉีด PRP
ฉีดโบทอกซ์ -ฟิลเลอร์
ฉีด ฟิลเลอร์
ฉีด โบทอกซ์
สิว - หลุมสิว
สิวอุดตัน สิวอักเสบ
หลุมสิว-เลเซอร์
ผมร่วง-กำจัดขน
รักษา ผมร่วง ผมบาง
กำจัดขนถาวร ด้วยเลเซอร์ YAG
การผ่าตัดอื่นๆ
ตัดก้อนเต้านมในผู้ชาย Gynecomastia
ทำหมันชาย
ริดสีดวงทวารด้วย เลเซอร์-ผ่าตัด
เส้นเลือดขอด เลเซอร์-ฉีดยา-ผ่าตัด
แผลเป็น  คีลอยด์
ก้อน เจ็บเต้านม เต้านมเกิน
 
ฝ้า (Melasma)
 
    รอยฝ้ามีลักษณะเป็นสีน้ำตาลคล้ำ มักเกิดบริเวณโหนกแก้ม, หน้าผาก, จมูก, เหนือริมฝีปาก และคาง ส่วนใหญ่จะเป็นเหมือนกันทั้งสองข้างของใบหน้า พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และพบมากในวัยกลางคน ฝ้าทำให้คุณเสียบุคลิกภาพขาดความมั่นใจได้ ฝ้าแบ่งออกเป็นฝ้าลึก ฝ้าตื้น และฝ้าผสม
 
สาเหตุของการเกิดฝ้า
 
สาเหตุของการเกิดฝ้า
 
1. แสงแดด เป็นปัจจัยสำคัญ แสงอุลตร้าไวโอเลต และไอความร้อนเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดฝ้าหรือทำให้ฝ้าชัดมากขึ้น

2. การเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนเพศ เช่น จากการตั้งครรภ์ หรือการรับประทานยาคุมกำเนิด

3. การแพ้ส่วนผสมในเครื่องสำอาง ซึ่งอาจทำปฏิกิริยากับแสงแดด แล้วเกิดการแพ้เป็นรอยดำได้

4. ยาบางชนิด เช่น ยาลอกผิว ยารักษาฝ้ากลุ่มไฮโดรควิโนน เมื่อใช้ไปนานๆและหยุดใช้ จะเกิดฝ้าถาวรและดื้อต่อการรักษา

5. พันธุกรรม และอายุที่เพิ่มมากขึ้น
 
วิธีการรักษาฝ้า
 
1. การใช้ครีมกันแดด ควรใช้ครีมกันแดดที่มีประสิทธิภาพ ส่วนใหญ่แนะนำให้ใช้ครีมกันแดดที่มี SPF 30 ขึ้นไป

2. การใช้ยาทารักษาฝ้า (Whitening cream) ซึ่งมีหลายชนิด เช่น Arbutin, licorice, kojic acid, AHA, BHA, vitamin C, Azelaic acid และ hydroquinone เป็นต้น ตัวยาจะออกฤทธิ์ช่วยลดการสร้างเม็ดสีใต้ผิวหนัง ควรใช้ยาด้วยความระมัดระวัง และใช้ยาต่อเนื่อง โดยค่อยๆเปลี่ยนยาลงเมื่อฝ้าจางไป ไม่ควรหยุดยาทันที ทั้งนี้ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์ เพราะอาจเกิดปํญหาจากยา เช่น ฝ้าถาวรหรือด่างขาวถาวรซึ่งดื้อต่อการรักษา
 
3. ปัจจุบันมีการรักษาด้วยยากินในกลุ่ม transamin หรือ glutatione ควรใช้ยาต่อเนื่องและค่อยๆ ลดปริมาณยาลง ทั้งนี้ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์ ไม่ควรซื้อยากินเอง

4. ผลการรักษาฝ้า เมื่อรักษาหายแล้วมีโอกาสจะเกิดขึ้นใหม่ นอกจากการใช้ยาแล้วยังมีการรักษาอื่นๆอีกในกรณีที่ดื้อยา หรือใช้ยาแล้วไม่ได้ผล เช่น เลเซอร์ใหม่ Spectra-VRM เป็นต้น การรักษาอาจต้องทำหลายครั้ง (5-10 ครั้ง) แต่แสงเลเซอร์จะทำให้ฝ้าเลือนหายไปนานมากซึ่งนับว่าได้ผลดีและคุ้มค่า
 
การป้องกันฝ้า
1. ควรหลีกเลี่ยงการถูกแสงแดดจัดๆ และควรใช้ครีมกันแดดเป็นประจำ
2. ควรทดสอบเครื่องสำอางก่อนใช้ทุกครั้งว่าไม่แพ้ ไม่แดง ไม่ลอกเป็นขุย
3. หยุดยาที่เป็นสาเหตุ เช่น ยาคุมกำเนิด ยากันชักบางประเภท
4. เมื่อมีฝ้าเกิดขึ้น ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อทำการรักษา ไม่ควรซื้อยาทาเอง
ซึ่งอาจทำปฏิกิริยากับแสงแดด แล้วเกิดการแพ้เป็นรอยดำได้

4. ยาบางชนิด เช่น ยาลอกผิว ยารักษาฝ้ากลุ่มไฮโดรควิโนน เมื่อใช้ไปนานๆและหยุดใช้ จะเกิดฝ้าถาวรและดื้อต่อการรักษา

5. พันธุกรรม และอายุที่เพิ่มมากขึ้น
 
 
กระ (Freckle)
 
สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดกระคือ พันธุกรรมและแสงแดด จึงควรหลีกเลี่ยงและหาทางป้องกัน เช่น การใช้ครีมกันแดด สวมหมวก กางร่ม หรือสวมเสื้อแขนยาว เป็นต้น กระจะไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยครีมทาฝ้า
 
กระ
 
กระ แบ่งเป็นหลายประเภท ดังนี้
 
1. กระตื้น (Freckle) ลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาลเล็กๆ มีขนาดไม่เกิน 0.5 เซนติเมตร ขอบเขตไม่ชัดเจน และมักพบกระจายทั่วใบหน้า อาจเป็นแต่กำเนิดหรือเป็นวัยรุ่น ถ้าโดนแดดสีมักจะเข้มขึ้น แต่ถ้าไม่โดนแดดนานๆ สีมักจะจางลง
 
2. กระลึก (Hori's nevus) ลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาลเทาๆ เห็นเป็นเงาลึกๆ ขอบเขตไม่ชัดเจน ส่วนใหญ่อยู่บริเวณโหนกแก้ม 2 ข้าง
 
3. กระแดด (Lentigine) มีลักษณะเป็นวงกลมสีน้ำตาล ผิวเรียบ ขอบเขตชัดเจน พบที่หน้าหรือแขน ส่วนใหญ่พบในคนสูงอายุ หรือคนที่ต้องทำงานอยู่กลางแดดเป็นเวลานาน
 
การรักษากระ
 
1. กระตื้นและกระแดด สามารถรักษาโดยใช้ยาแต้มหรือจี้ด้วยน้ำยา TCA แต่มักจะขึ้นใหม่
การรักษาที่ได้ผลดีคือการใช้เลเซอร์ที่มีความจำเพาะต่อการทำลายเม็ดสีเท่านั้น เช่นเลเซอร์ Q-switch Nd-YAG, Alexandrite หรือ Ruby ซึ่งจะไม่ทำให้เนื้อดีรอบๆเป็นอันตราย

2. กระลึก ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาทาฝ้า ต้องรักษาด้วยเลเซอร์กำจัดเม็ดสีเท่านั้นเพราะไม่ทำให้ผิวหนังชั้นบนเสียหาย แต่ต้องทำประมาณ 3-10 ครั้งจึงจะเห็นผล และจะไม่กลับเป็นอีกถ้าดูแลผิวอย่างดี

เลเซอร์ Q-switch Nd-YAG, Alexandrite หรือ Ruby

 
ก่อนทำเลเซอร์
หลังทำเลเซอร์

ก่อนทำเลเซอร์ฝ้า Spectra-VRM                                      หลังทำเลเซอร์ฝ้า 5 ครั้ง  
 
 
 
 
Fotona (Fidelis)
เลเซอร์หน้าใส ลดริ้วรอย กระชับรูขุมขน